วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17


วันอังคาร ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555


- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ  Tablet ลงในแผ่นกระดาษ และได้ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- อาจารย์บอกแนวข้อสอบและสรุปที่เรียนมาในภาคเรียนนี้
- อาจารย์ตรวจบล๊อกเกอร์ที่ละคนและให้ข้อแนะนำว่าต้องศึกษาอะไรเพิ่มเติม


 
                                         
   

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16



วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษมและบอกถึงข้อผิดพลาดเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในเนื้อหารายละเอียดของการทดลองวิทยาศาสตร์
    

                                                  โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

- วันนี้ไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์(การทดลอง)ที่โรงเรียนสาธิตจันทรเกษม


โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก
                                                           


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันอังคารที่  4 กันยายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ให้นักศึกษานำป้ายนิเทศที่ทำมาส่ง และร่วมกันเสนอความคิดเห็น เพื่อนำไปแก้ไขพัฒนาปรับปรุงต่อไป
- อาจารย์ให้ส่งสมุดวิธีการทำและการพับดอกไม้ที่เป็นขั้นตอน


                               โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันเสาร์ที่ 1 กรฎาคม พ.ศ. 2555

   - วันนี้ได้เข้าอบรมการทำสื่อจัดป้ายนิเทศ หรือจัดบอร์ด

โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ให้แก่นักศึกษาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษสาขาการศึกษาปฐมวัย 
ณ  ที่ห้องศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์  




 
 

 



                                                     โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง 12

วัน อังคาร ที่ 28 สิงหาคม 2555
- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่จะสอนชดเชย


 โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555 
    
 - อาจารย์แจกหนังสือกลุ่มละ 1 เล่ม 
โดยกลุ่มของข้าพเจ้าได้เรื่อง ตัวเด็ก และให้แต่ละกลุ่มสรุปเป็น mapping ร่วมกัน

งานที่ได้รับมอบหมาย 
-แบ่งกลุ่ม 4 คน ทำกิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์




โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10


วันอังคาร ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2555

 *หมายเหตุ  ไม่มีการเรียนการสอน 
            เนื่องจากอาจารย์มีประชุม
            แต่อาจารย์นัดมาเรียนชดเชยวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2555 


 โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก

สิ่งที่ค้นหาเพิ่มเติม


สื่อการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

             สื่อการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน มีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการสอนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม นักการศึกษาเรียกชื่อสื่อการสอนด้วยชื่อต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์การสอน วัสดุการสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษา เป็นต้น
สื่อการสอนวิทยาศาสตร์ หรือสื่อในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดสถานการณ์ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เนื้อหา ที่เป็นความรู้ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ชนิดของสื่อการสอน
             สื่อการสอนที่ใช้ในการสอนมีหลายชนิดสำหรับเด็กปฐมวัยอาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดก็ตามที่เป็นเครื่องช่วยให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการ นับว่าเป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น ได้แก่
             1. ครู
ครูเป็นสื่อที่นับได้ว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่าง ๆ
ในการเรียนรู้และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่น ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน หากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลต่อเด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
             2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
สื่อชนิดนี้ครูหรือผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ
เพียงแต่ผู้ใช้จะต้องเลือกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบ ก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือ ฤดูฝน เพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพไข่กบ ลูกอ็อด และลูกกบ ประกอบคำอธิบาย เป็นต้น
             3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น
สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหา หรือจัดทำขึ้น ได้แก่
ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด เกม วีดีทัศน์ ฯลฯ
นอกเหนือจากนี้ สื่อดังกล่าวอาจแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้เป็น ประเภทคือ
             1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น ภาพ เปลือกหอย ฯลฯ
             2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ เช่น วิทยุ เครื่องเล่นวีดีโอ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
             3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม เช่น การสาธิต การทดลอง เกม 



ประโยชน์ของการใช้สื่อการสอนวิทยาศาสตร์
          
  1. ช่วยให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยเด็กได้เห็น ได้ทดลองและได้ทำด้วยตนเอง
             2. ช่วยให้เด็กเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้นเพราะไม่ต้องอาศัยจินตนาการเพียงอย่างเดียว ซึ่งเกินความสามารถของเด็ก
             3. ช่วยให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจแก่เด็กยิ่งขึ้น อันเป็นเครื่องยั่วยุให้เด็กเกิดความตั้งใจในการเรียนเป็นอย่างดี
             4. ช่วยให้เด็กเห็นบทเรียนต่อเนื่องกัน เกิดความคิดและเข้าใจได้ง่าย เช่น ดูภาพยนตร์หรือภาพพลิกเกี่ยวกับความเจริญเติบโตของแมลง เห็นความเจริญเติบโตเป็นระยะ ๆ
             5. ช่วยให้จัดกิจกรรมให้เด็กร่วมในบทเรียนง่ายเข้า
             6. ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้นานและมากขึ้น
             7. ส่งเสริมให้มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนเพราะเด็กเรียนด้วยความสนุกสนานและ
เข้าใจ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วันอังคาร ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2555

 *หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน
           เนื่องจากมีการสอบกลางภาคของทางมหาวิทยาลัย


                โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก
สิ่งที่ค้นหาเพิ่มเติม

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อความหมาย
วัสดุบางอย่างสามารถลอยน้ำ
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุที่ลอยน้ำได้
แนวคิด
วัตถุบางอย่างสามารถลอยน้ำได้

วัตถุประสงค์

หลังจากทำกิจกรรมนี้เสร็จแล้วเด็กสามารถ
1. ชี้บ่งวัตถุที่สามารถลอยน้ำได้
2. อธิบายสาเหตุที่วัตถุลอยน้ำได้
3. อธิบายสาเหตุที่ทำให้วัตถุจมน้ำ

วัสดุอุปกรณ์

กระดาษ ใบตอง กาบมะพร้าว ดินน้ำมัน เปลือกไม้ ตะปู ก้อนหิน ดินน้ำมัน อะลูมิเนียมฟอย (ถ้ามี) อ่างน้ำ น้ำ

กิจกรรม

1. แบ่งเด็กนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละประมาณ 4-5 คน
2. แจกวัสดุทั้งหมด (ยกเว้นอ่างน้ำ และน้ำ) ที่กล่าวข้างต้นให้แก่เด็กทุกกลุ่ม
3. บอกให้เด็กสร้างเรือคนละประเภทจากกระดาษ ใบตอง กาบมะพร้าว ดินน้ำมัน เปลือกไม่ อะลูมิเนียมฟอย ครูควรกระตุ้นให้เด็กทำเรือที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น ทำเป็นเรือใบ เรือแจว เรือเปลือกไม้ ฯลฯ
4. ให้เด็กนำเอาเรือที่ได้ทำเสร็จแล้วไปลอยในอ่างน้ำที่มีน้ำอยู่และให้เด็ก สังเกตเรือของตนเองว่าลอยน้ำได้หรือไม่ หลังจากนั้นครูอาจแนะนำให้เด็กเอาก้อนหินหรือตะปู หรือดินน้ำมันค่อย ๆ ใส่ลงไปบนเรือทีละอันหรือทีละก้อน และสังเกตดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นถ้าเรือลำใดยังไม่จมน้ำครูอาจเสนอแนะให้เด็ก เครื่องล่วงใส่ลงไปอีกจนกว่าเรือจะจม
5. ครูอภิปรายกับเด็กโดยตั้งคำถามดังนี้
“เรือที่เขาทำนั้นมีรูปร่างเป็นอย่างไร”
“เรือของใครบ้างที่ลอยน้ำ เพราะอะไร”
“เรือของใครบ้างที่จมน้ำ เพราะอะไร”
“เรือรูปร่างอย่างไรที่แล่นได้เร็ว”

อ้างอิงจา www.info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วันอังคาร ที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2555 

* หมายเหตุ   วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

                      เนื่องจากมีการสอบกลางภาคของทางมหาวิทยาลัย




                                           โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก
ความรู้ที่หาเพิ่มเติม

เรื่่องหอบไปได้อย่างไร

หลายคนเคยถามด้วยความสงสัยว่าเหตุใดเวลาอ่านข่าวหรือ ดูข่าวเกี่ยวกับพายุทอร์นาโดมักจะปรากฎว่า บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ถูกหอบไปด้วย การทดลองนี้จะช่วยให้หลายๆคนเข้าใจได้

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกปิงปอง 2 ลูก
2.เชือกขนาดเล็ก 2 เส้น
3.ไม้บรรทัดหนา
4.หนังสือหลายๆ เล่ม
5.เทปใส


วิธีการทดลอง1.ใช้เทปใสติดปลายเชือกกับลูกปิงปองเส้นละลูก แล้วผูกอีกปลายหนึ่ง เข้ากับไม้บรรทัด ให้ลูกปิงปองห่างกันประมาณ 2 เซนติเมตร
2.วางไม้บรรทัดในข้อ 1 ไว้บนขอบโต๊ะโดยให้ส่วนที่มีลูกปิงปองห้อยนั้น อยู่ห่างจากขอบโต๊ะประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้หนังสือหลายๆเล่มทับ ไม้บรรทัดด้านที่อยู่บนโต๊ะ
3. เป่าลมผ่านช่องระหว่างลูกปิงปอง ทั้งสองลูกก่อนเป่าให้คาดเดาไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น สังเกตผล
4.ทำเช่นเดียวกับข้อ 3 โดยเป่าด้วย แรงมากน้อยต่างกัน สังเกตผล



ผลการทดลอง
เมื่อเป่าลมผ่านระหว่างลูกปิงปอง ลูกปิงปองทั้งสองจะเบนเข้าหากัน และยิ่งเป่าแรงมาก ลูกปิงปองก็จะเบนเข้าหากันมากขึ้นและอาจชนกัน การที่ลูกปิงปองเบนเข้าหากันนั้น เนื่องจากเมื่อเป่าลมจะทำให้อากาศ ระหว่างลูกปิงปองเคลื่อนที่ ทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศต่ำลง อากาศบริเวณที่อยู่ด้านนอกลูกปิงปองทั้งสอง ซึ่งมีความดันอากาศปกติ แต่สูงกว่าอากาศระหว่างลูกปิงปองจะดันลูกปิงปองไปในทิศทางที่อากาศ มีความดันต่ำกว่า
การที่อากาศเคลื่อนที่เร็วทำให้บริเวณนั้นมีความดันอากาศลดลง ยิ่ง เคลื่อนที่เร็วมากแค่ไหน ความดันอากาศก็จะยิ่งลดลงมากเท่านั้น และนี่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ทอร์นาโด ซึ่งมีความเร็วลมมากอาจถึง 480 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง สามารถทำลายสิ่งต่างๆได้ และหอบเอา บ้าน รถยนต์ และอื่นๆ ไปด้วย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7


วันอังคาร ที่ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2555

 ความรู้ที่ได้รับวันนี้
 -อาจาร์ยแนะนำการเขียนแผนพร้อมทั้งยกตัวอย่างการเขียนแผนเรื่องปลา
แหล่งการเรียนรู้ -สถานที่ต่างๆเช่นท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นต้น
- ประโยชน์ของแหล่งการเรียนรู้ -เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง -เกิดการเปรียบเทียบ -ตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็น -อยากทดลอง -เกิดการสังเกต ตั้งคำถาม -เกิดการค้นหาข้อมูล&เนื้อหา ข้อจำกัด -ไกล เดินทางไม่สะดวก -ห้ามถ่ายรูป -ค่าบริการแพง


                                            โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคาร ที่ 17 กรกฏาคม พ.ศ. 2555

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
วัตถุประสงค์ในการทำของเล่น
-  การเล่นทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
-  เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น/การเล่นทำให้เกิดแรงจูงใจ
-  การเล่นทำให้เด็กเกิดการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การเล่นเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร?
เด็กเกิดความสงสัยและเกิดการค้นหาคำตอบ
-  เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
-  มีขั้นตอน มีการวางแผนในการลงมือทำ งานที่ได้รับมอบหมาย 
-  แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเขียนสรุปหน่วยการเรียนรู้พร้อมทั้งเขียนแผนการ


                                                         โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก               

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2555


 ความรู้ที่ได้รับวันนี้

- เสนอสื่อวิทยาศาสตร์
- ทำของเล่นให้เด็ก   คือ กล้องเพอริสโคบ
- สอนให้เด็กทำเอง  คือ โยนรับหรรษา




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันอังคาร ที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2555

 ความรู้ที่ได้รับวันนี้


 - ดูVDOวิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก เรื่อง"มหัศจรรย์ของน้ำ"
 - ได้รู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
 - ได้รู้เกี่ยวกับเทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้การทดลอง
 - วิธีการตั้งคำถามนำเข้าสู่กิจกรรม การอธิบาย การเชื่อมโยง การสรุป

งานที่ได้รับมอบหมาย

 -จับคู่2คนทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถเล่นเองได้และสื่อที่สอนให้เด็กสามารถทำเองได้
 พร้อมเขียนวิธีทำและวิธีเล่นด้วย

                                                  โดราเอม่อน ดุ๊กดิ๊ก น่ารัก